ภาษา :
“รู้ไหมว่า หลังจดทะเบียนสมรส เงินเดือนครึ่งหนึ่งของคุณ
จะถือเป็นสิทธิของสามีหรือภรรยาตามกฎหมายสินสมรสด้วยเช่นกัน”
คู่แต่งงานมือใหม่ทั้งหลายน่าจะรู้อยู่แล้วว่า การเป็นสามีภรรยาหมายถึงการ เป็นหุ้นส่วนของชีวิตกันในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินเงินทองของทั้งคู่ ซึ่งเรียกว่า “สินสมรส” หมายถึง ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว ดังนั้น ทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้รับมาหลังจากนั้นก็จะเป็นสมบัติของทั้งสามีและภรรยา ไม่สามารถ แยกออกจากกันให้กลายเป็นสินส่วนตัวได้ ยกเว้นแต่จะตกลงกันเป็น “สัญญาก่อนสมรส” ให้ชัดเจน
ความแตกต่างของสินสมรสและสินส่วนตัว มีดังนี้
เมื่อทราบแล้วว่าสินสมรสจะได้มาหลังจากการแต่งงาน
ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มวางแผนบริหารทรัพย์สินและหนี้สินต่างๆ ของทั้งคู่ด้วย
“3 ข้อคิด บริหารสินสมรสให้ลงตัว”
ดังนี้
เมื่อสามีภรรยาได้ทรัพย์สินมา เช่น การได้รับเงินเดือนจากการทำงาน ถือเป็นสินสมรส ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งควรพิจารณาเรื่องการจัดการภาษีเงินได้อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อครอบครัวของเรา โดยสามีภรรยามีทางเลือกในการยื่นภาษีดังนี้
สามารถแยกยื่นแบบแสดงรายได้ หรือ ยื่นแบบฯ ร่วมกัน หรือ แยกยื่นแบบฯ เฉพาะรายได้
ประเภทที่ 1
สามารถยื่นรวมเพื่อนำค่าลดหย่อนของอีกฝ่ายมาใช้ประโยชน์ได้
ทั้งนี้ในการยื่นภาษีนั้น ควรศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายและทดลอง คำนวณว่าวิธีการยื่นแบบแสดงรายได้แบบใดดีที่สุดสำหรับ คู่สามีภรรยาทั้งสองฝ่าย
การก่อหนี้สินเพื่อสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว ควรเป็นการวางแผน และตัดสินใจร่วมกันของสามีภรรยา ไม่ว่าจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ทั้งคู่ก็ย่อมจะยินยอมพร้อมใจช่วยกันชำระหนี้เพื่อสานฝันของ ครอบครัว แต่ในกรณีที่คู่สมรสไม่ได้ยินยอมเรื่องการก่อหนี้ของ อีกฝ่าย เพราะไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของครอบครัว เช่น สามีต้องการ กู้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว สามีก็จะต้องรับผิดชอบหนี้สินนั้นด้วยสินส่วนตัวก่อน แต่ถ้ามูลค่าทรัพย์สินที่ต้องนำไปชำระไม่เพียงพอ จะต้องนำสินสมรสในส่วนของสามี (ไม่เกินครึ่งหนึ่งของสินสมรส) มาชำระหนี้ด้วย
นอกจากเรื่องของภาษีและภาระหนี้สินที่ผูกพันทางกฎหมายแล้ว เรายังต้องบริหาร สินสมรสให้ดีในแง่ของความผูกพันทางใจและการสร้างความมั่งคั่งด้วย คู่สามีภรรยาควร วางแผนทางการเงินและนำสินสมรสไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในร่วมกัน ทั้งเรื่องการสร้าง หลักประกันความมั่นคงทางการเงินในยามเกษียณ และการสร้างหลักประกันให้กับอนาคตของลูกหลาน สามีภรรยาควรร่วมกันวางแผนจัดทำพินัยกรรมเพื่อเป็นมรดกอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของสินส่วนตัวซึ่งสามารถยกให้ใครก็ได้ตามความพอใจ และสินสมรสซึ่งมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง
Reference: http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/regulation200955.pdf
อ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488 และ 1490
ครั้งที่แล้ว เราพูดกันถึงเรื่อง การลงทุนแบบ 3 เด้ง คือ การลงทุนที่เมื่อเราลงทุนแล้ว เด้งแรกที่ได้รับ คือ
เรียนรู้การลงทุนเพื่อมีชีวิตที่ดี ได้ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุน ผ่านระบบ e-Learning ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สอดคล้องกั
ไม่ว่าจะเป็นคลิปเรื่องวางแผนการเงินการลงทุน บทสัมภาษณ์พิเศษจากเหล่ากูรูในแวดวงตลาดทุน
ในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 ตั้งแต่เวลา 17.30-19.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย
ลงทุนในหุ้นดีอย่างไรนะ? หลายคนคงเคยมีคำถามนี้ อยู่ในใจ เพราะที่ผู้ลงทุนหลายคนลังเลที่จะลงทุน