ภาษา :
“รู้ไหมว่า ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระจะมี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับภาษีต่างจากอาชีพอื่น”
ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หมายถึง บุคคลทำอาชีพอิสระไม่ขึ้นอยู่กับนายจ้าง คล้ายกับคนทำฟรีแลนซ์ แต่จะต้องเป็นอาชีพที่ต้องได้รับ ใบประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง และถูกกำหนดไว้ในกฎหมาย ได้แก่ แพทย์และพยาบาลประกอบโรคศิลปะ ทนายความและนักกฎหมาย นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร นักประณีตและศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่นๆ ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระเหล่านี้จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างจาก มนุษย์เงินเดือนและฟรีแลนซ์
หากคุณเป็นคนทำอาชีพเหล่านี้
มาดู “3 วิธีวางแผนภาษี ที่อาชีพอิสระต้องรู้”
ที่จะช่วยวางแผนภาษีให้ลงตัวและได้ประโยชน์สูงสุด
หากเราทำงานในวิชาชีพที่กำหนดไว้ โดยไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทที่ได้รับเงินเดือน แต่เป็นการประกอบวิชาชีพเพียงลำพัง หรือเป็นการจ้างเป็นงานๆ และมีอิสระในการทำงาน เงินได้ของอาชีพนี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรา 40 (6) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบเหมารวม หรือ หักตามจริงแบบมีใบเสร็จ ดังนี้
ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% และถูกนำไปคำนวณเงินได้เพื่อคิดภาษี เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ
ตัวอย่าง
นาย A อาชีพทนาย มีเงินได้ 1,000,000 บาท สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 30% คือ 300,000 บาท โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 30,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม จะต้องชำระภาษีจำนวน 23,000 บาท
เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีการรับรายได้ไม่สม่ำเสมอคล้ายคลึงกับคนทำฟรีแลนซ์ จึงควรจดบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด พร้อมเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินทั้งรายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ตรวจสอบสถานะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการประกอบอาชีพ หากพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสูงกว่า 30% ของรายได้ ก็ควรพิจารณาทางเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง แทนหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
เพื่อวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม อย่าลืมว่าผู้ประกอบวิชาชีพอิสระก็สามารถใช้สิทธิใน การลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับอาชีพอื่นๆ ทั้งในส่วนของการลดหย่อนพื้นฐาน และการ ลดหย่อนด้วยการออมและลงทุนด้วยการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อ การเลี้ยงชีพ (RMF) หรือประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปก็ได้ โดยคำนวณวงเงิน สูงสุดในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทตามฐานเงินได้ของเรา จากนั้นก็ทยอยลงทุน ตามแผนเพื่อประหยัดภาษีและสร้างความมั่งคั่งในยามเกษียณ
ครั้งที่แล้ว เราพูดกันถึงเรื่อง การลงทุนแบบ 3 เด้ง คือ การลงทุนที่เมื่อเราลงทุนแล้ว เด้งแรกที่ได้รับ คือ
เรียนรู้การลงทุนเพื่อมีชีวิตที่ดี ได้ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุน ผ่านระบบ e-Learning ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สอดคล้องกั
ไม่ว่าจะเป็นคลิปเรื่องวางแผนการเงินการลงทุน บทสัมภาษณ์พิเศษจากเหล่ากูรูในแวดวงตลาดทุน
ในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 ตั้งแต่เวลา 17.30-19.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย
ลงทุนในหุ้นดีอย่างไรนะ? หลายคนคงเคยมีคำถามนี้ อยู่ในใจ เพราะที่ผู้ลงทุนหลายคนลังเลที่จะลงทุน