“อีกไม่กี่ปีก็ต้องเกษียณอายุงานแล้ว ไม่รู้จะเตรียมตัวอย่างไรดี”

เมื่อถึง “วัยเกษียณ” ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้าที่การงาน สังคม และสถานะทางการเงินเท่านั้น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงทาง ร่ายกายและจิตใจ ซึ่งเป็นธรรมดาของ “ผู้สูงอายุ” หรือ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อะไรๆ มันจะแย่จนดูแลไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านของแต่ละคนจะเกิดไม่พร้อมกัน และความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่ที่ต้องทำเหมือนกัน คือ เตรียมพร้อม และยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อทำให้ชีวิต วัยเกษียณมีความสุขมากที่สุด
เพื่อชีวิตเกษียณสุข

1 เตรียมกาย
ร่างกายคนเราก็เหมือนเครื่องยนต์ ที่ทำงานหนักมาเกือบ 60 ปี (และยังต้องทำงานต่อไป อีกเป็นสิบๆ ปี) ก็ย่อมจะมีเสื่อม มีโทรมไปบ้างตามอายุการใช้งาน ดังนั้น ผู้สูงอายุควร วางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารหวานและไขมันสูง
ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจร่างกายประจำปี เพื่อให้รู้ว่า มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย หรือ มีโรคประจำตัวหรือไม่ จะได้หาวิธีป้องกันและปรับพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสการเจ็บป่วย นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพเป็นประจำจะทำให้มีโอกาสตรวจพบโรคในช่วงเริ่มต้น ซึ่งรักษาให้หายขาดได้ และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าปล่อยไว้จนร่างกายทรุดหนัก
สำหรับวัยเกษียณ “ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ” ตั้งแต่ค่าดูแลสุขภาพไปจนถึงค่ารักษาพยาบาล จะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุด และจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่ออายุมากขึ้น แต่คนไทยก็ยังถือว่าโชคดี ที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือ “สวัสดิการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ” ที่ภาครัฐจัดไว้ให้ประชาชน
โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1 สวัสดิการข้าราชการ
ข้าราชการเกษียณที่เลือกรับเงินบำนาญ (เรียกว่า “ข้าราชการ บำนาญ”) ไม่ต้องเป็นกังวลเรื่อง ค่ารักษาพยาบาล เพราะจะยังคงได้รับ สิทธิรักษาพยาบาลต่อเนื่อง แถมยังได้สิทธิตรวจสุขภาพประจำปีอีกด้วย
2 กองทุนประกันสังคม
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือนแล้ว แต่ยังต้องการสิทธิรักษาพยาบาล เหมือนเดิม ก็ทำได้ โดยเป็น “ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)”
3 สวัสดิการพนักงาน
ส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการหรือลูกจ้างขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเบิก ค่ารักษาพยาบาลใน รพ.รัฐ หรือ สถานพยาบาลท้องถิ่น
4 สวัสดิการของ
หน่วยงานรัฐอื่นๆ
รัฐวิสาหกิจยังให้สวัสดิค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกษียณอายุไปแล้ว หรือ ยังให้สิทธิพนักงานที่เกษียณอายุสามารถเข้ามา ใช้บริการห้องพยาบาลขององค์กรได้เช่นเดิม
5 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นจากรัฐบาล จะได้สิทธิรักษาพยาบาลตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “สิทธิบัตรทอง” โดยต้องไปลงทะเบียนสมัครกับหน่วยงานที่กำหนด และเลือกโรงพยาบาลรัฐที่อยู่ในเขตอยู่อาศัย 1 แห่ง
(แต่ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุ ฉุกเฉินเข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้)

*สามารถตรวจสอบสิทธิว่า เราอยู่ในกลุ่มไหนได้ที่ http://www.nhso.go.th/peoplesearch

2 เตรียมใจ
ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน การดูแลจิตใจเป็นเรื่องสำคัญเสมอ เพราะ “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” และเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณที่พลังกายเริ่มถดถอย ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับพลังใจมากขึ้น เป็นพิเศษ เพราะถ้าปล่อยให้ใจป่วย กายก็จะป่วยตามไปด้วย
อาจหากิจกรรมทำ หรือทำงาน อดิเรกที่ชอบอยู่ที่บ้าน เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เล่นดนตรี วาดรูป ทำงานฝีมือ หรือจะออกไป ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยว ทำบุญ กิจกรรมกลุ่มต่างๆ หรือ ทำกิจการ เล็กๆ น้อยๆ
รู้สึกเศร้า”
วิธีการปรับใจให้ผ่อนคลายและสงบ ทำได้หลายอย่าง เช่น การมองโลก แง่บวก นั่งสมาธิ เข้าวัด ฟังธรรม หรือออกกำลังกาย ที่นอกจาก จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ยังช่วยให้ จิตใจแจ่มใสได้ เพราะช่วยคลายเครียด และทำให้เซลล์สมองทำงานดีขึ้น
ควรนำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ทั้งในการทำงาน และประสบการณ์ชีวิต ที่มีอยู่ออกมา ใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด โดยอาจ จะไปเป็นที่ปรึกษา วิทยากร อาสาสมัคร หรือทำกิจกรรม การกุศล นอกจากนี้ ยังควรทำ กิจวัตรประจำวันของตัวเอง อะไรที่ทำเองได้ก็ควรทำต่อไป ไม่ต้องให้ใครมาคอยดูแล


3 เตรียมที่อยู่อาศัย
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในวัยเกษียณ เช่น
เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินขึ้นลงบันได หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในการขึ้นไปชั้นบน เช่น เก้าอี้เลื่อนขึ้นบันได
โดยติดราวจับช่วยพยุง เปลี่ยนพื้นห้องน้ำเป็นแบบกันลื่น ขยายขนาดห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และประตูให้กว้างขึ้น เผื่อให้รถเข็นเข้าได้
ที่ต้องใช้บริการรถพยาบาลและเตียงหาม จะจัดวางพื้นที่ในบ้านอย่างไร เพื่อให้เข้ามารับตัวได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด
