ภาษา :
“อยากมีลูกมากเลย แต่เราสองคนยังไม่พร้อม
อยากสร้างเนื้อสร้างตัวให้ฐานะการเงินมั่นคงกว่านี้ ลูกจะได้ไม่ลำบาก”
คู่สามีภรรยาหลายคู่ตัดสินใจว่าจะยังไม่มีลูก เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันแรกที่ลูกน้อยได้ลืมตามาดูโลกจนถึงวันที่เรียนจบปริญญาตรี อย่างน้อยก็เป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว ก็จะพบว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ แต่ถ้ามัวรีรอให้พร้อม ก็อาจจะสายเกินไปอีก
จะดีกว่ามั้ย ถ้าเริ่มต้นวางแผนเลี้ยงดูลูกตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตคู่ด้วย
“4 ขั้นตอนวางแผน
ออมเงินเพื่อลูก”
เมื่อสามีภรรยาได้ทรัพย์สินมา เช่น การได้รับเงินเดือนจากการทำงาน ถือเป็นสินสมรส ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งควรพิจารณาเรื่องการจัดการภาษีเงินได้อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อครอบครัวของเรา โดยสามีภรรยามีทางเลือกในการยื่นภาษีดังนี้
ศึกษาค่าใช้จ่ายตลอดช่วงชีวิตที่ลูกยังอยู่ภายใต้การดูแลของเราจนกว่าจะเติบใหญ่พอที่จะดูแลตัวเองได้ เช่น
ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนเป็นทารกแบเบาะ เช่น ค่าฝากครรภ์ คลอดลูก วัคซีน เสื้อผ้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ของเล่น นมผง เงินเดือนพี่เลี้ยง ฯลฯ ข้อควรระวังคือ พ่อแม่ควรวางแผน รับมือกับค่ารักษาพยาบาลสำหรับเด็กอ่อนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถแบ่งเบาได้ด้วยการซื้อประกันสุขภาพสำหรับ เด็กเตรียมไว้ตั้งแต่แรกเกิดเลย
ก็จะมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาก้อนใหญ่ที่ต้องเตรียมไว้ ล่วงหน้า เช่น ค่าเล่าเรียน หนังสือ อุปกรณ์การเรียน คอมพิวเตอร์ ค่าขนม รถรับส่ง เรียนพิเศษ เป็นต้น พ่อแม่ ควรวางแผนเส้นทางการเรียนของลูกให้เหมาะสมกับ ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของลูก ตั้งแต่ ระดับประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย โดยต้องการส่งลูก เรียนในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อประเมินค่าใช้จ่าย ในแต่ละระดับชั้นให้เหมาะสมต่อไป
เริ่มหักเงินออมและเงินลงทุนออกจากรายได้ของสามีภรรยา แล้วลงมือวางแผนการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้อง กับช่วงเวลาที่ต้องการใช้เงินในแต่ละเป้าหมาย เช่น
เป็นเป้าหมายระยะสั้น 1 – 3 ปี และมีความสำคัญสูง พลาดไม่ได้ ดังนั้นควรคำนวณจำนวนเงินออมเพื่อ เป้าหมายนี้ในแต่ละเดือน และเลือกออมเงินไว้ในสินทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ หรือ กองทุน ตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดทุน เป็นจำนวนมาก เดี๋ยวจะกระทบกับเงินก้อนที่ตั้งใจออมไว้ เลี้ยงดูในช่วงต้นนี้
เป็นเป้าหมายระยะยาวตั้งแต่ 3 – 5 ปีขึ้นไป สามารถ จัดสรรเงินไปลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ เพราะการลงทุนระยะยาวจะช่วยถัวเฉลี่ยความเสี่ยงและ เพิ่มผลตอบแทนได้ดีกว่า เช่น การลงทุนในกองทุนรวม แบบผสมหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยสามารถ วางแผนทยอยลงทุนในแต่ละเดือนและคาดการณ์ ผลตอบแทนจากการลงทุนตามข้อมูลในอดีต เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายเป็นค่าเล่าเรียนในแต่ละระดับชั้นตามที่ ตั้งใจไว้
ตัวอย่าง : เป้าหมาย คือ ออมเงินเป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีของลูก เป็นเงิน 1,000,000 บาท ในอีก 18 ปีข้างหน้า
เหมาะสำหรับพ่อแม่ที่รับความเสี่ยงได้สูง เพียงแค่แบ่งเงินเดือนละ 1,700 บาท ไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ที่ลงทุนโดยอ้างอิงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (Index Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นประเภทต่างๆ ที่มีผลตอบแทน ย้อนหลังเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี เมื่อครบ 18 ปี ก็จะมีเงินทุนการศึกษาก้อนใหญ่นี้ให้ลูกได้สบายๆ
(หมายเหตุ: คำนวณแบบทบต้นทุกเดือน อ้างอิงผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นแบบอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR)
ตั้งแต่ปี 2548 – 2558 อยู่ที่ 10.46% ต่อปี)
เหมาะสำหรับพ่อแม่ที่ไม่อยากลงทุนแบบเสี่ยงเกินไปและต้องการวางแผนรับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิต ควรศึกษาเงื่อนไขประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของแต่ละบริษัท โดยเลือกให้ตรงกับระยะเวลาที่ต้องการ ใช้เงินและความสามารถในการออมให้มากที่สุด เพราะหากเราเป็นอะไรไปหรือทุพพลภาพถาวรจนขาด รายได้ ก็ยังสบายใจว่าจะได้รับเงินก้อนจากทุนประกันที่มี มาส่งเสียให้ลูกเรียนหนังสือจนจบได้ ที่สำคัญคือ วิธีนี้จะได้ประโยชน์ถึง 3 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 คุ้มครองชีวิตพ่อแม่ด้วยทุนประกัน ต่อที่ 2 ได้รับเงินออมคืนเมื่อ ครบกำหนดสัญญา และต่อที่ 3 ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีอีกด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสถานะการเงินของเรา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนา ศักยภาพของลูกเราในอนาคต เช่น ลูกมีพรสวรรค์ด้านดนตรี ก็ส่งเสริมให้เรียนพิเศษ เพิ่มเติม โดยตั้งเป้าหมายและวางแผนการออมเงินเพื่ออนาคตของลูกเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่ง
ครั้งที่แล้ว เราพูดกันถึงเรื่อง การลงทุนแบบ 3 เด้ง คือ การลงทุนที่เมื่อเราลงทุนแล้ว เด้งแรกที่ได้รับ คือ
เรียนรู้การลงทุนเพื่อมีชีวิตที่ดี ได้ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุน ผ่านระบบ e-Learning ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สอดคล้องกั
ไม่ว่าจะเป็นคลิปเรื่องวางแผนการเงินการลงทุน บทสัมภาษณ์พิเศษจากเหล่ากูรูในแวดวงตลาดทุน
ในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 ตั้งแต่เวลา 17.30-19.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย
ลงทุนในหุ้นดีอย่างไรนะ? หลายคนคงเคยมีคำถามนี้ อยู่ในใจ เพราะที่ผู้ลงทุนหลายคนลังเลที่จะลงทุน