Language :
“เคยคิดไหมว่า ตอนเกษียณเราจะมีเงินเท่าไหร่
แล้วจะเอาเงินจากไหนมาใช้จ่ายหลังเกษียณ”
“เคยมองไหมว่า
พอแก่แล้วจะใช้ชีวิตกันแบบไหน”
“เคยดูตัวเองไหมว่า
ตอนนี้เก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ
กันได้แค่ไหนแล้ว”
พอพูดถึงวัยเกษียณก็อาจจะดูเหมือนไกลตัวและยังอีกนานกว่าจะมาถึง สำหรับใครหลายๆ คน แต่อย่าลืมว่าวันเวลาในแต่ละปีนั้นผ่านไปเร็ว มากขนาดไหน และถ้าหันมามองตัวเองว่า ในแต่ละเดือนนับจากนี้ไปจนถึง อายุ 60 ปี จะเก็บเงินได้อีกแค่ไหน ผลลัพท์ที่ได้อาจจะทำให้ขวัญผวากันได้ เพราะมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่จะมากขึ้นตามอัตรา เงินเฟ้อในอนาคต แถมยังต้องเก็บไว้ใช้จนถึงอายุ 70-80 ปีอีกต่างหาก
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว สิ่งที่เราควรทำคือ เริ่มต้นการวางแผนเกษียณตั้งแต่วันนี้ อย่ารอให้วันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนพบว่าเราออกตัวช้าจนสายเกินไปแล้ว
มาเริ่มวางแผนเกษียณกันตาม
“6 ขั้นตอน ช่วยเกษียณแบบมีเงินใช้ทั้งชาติ” ดังนี้
โดยปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนมักจะถูก
กำหนดให้ทำงานได้ถึงอายุ 60 ปี
แต่ยังต้องดำรงชีวิตอยู่จนอายุ
ถึง 70-80 ปี บางคนอายุยืน
ถึง 90 ปีก็มี ซึ่งเราสามารถ
ประมาณการอายุขัยได้จาก
คนในครอบครัว
เช่น หากตอนนี้เราอายุ 35 ปี จะเกษียณตอน
อายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 80 ปี
โดยคิดว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ 20,000 บาท
ต่อเดือน แต่ต้องอย่าลืมว่า ในแต่ละปีค่าครองชีพ
และค่าใช้จ่ายต่างๆ จะแพงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้อง
คำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย
(สมมติว่า 3% ต่อปี) ทำให้
เงิน 20,000 บาท ในวันนี้
มีมูลค่าเพิ่มเป็น 41,875
บาท ในอีก 25 ปีข้างหน้า
ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วเราจะต้องเตรียมเงินไว้
เพื่อใช้หลังเกษียณไปอีก 20 ปี เป็นจำนวน
รวม 8,323,028 ล้านบาท โดยเราต้องนำเงินก้อนนี้
ไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยอย่างน้อย 5% ต่อปี
ด้วย จึงจะทำให้เราสามารถใช้จ่ายเงินได้
ตามแผนที่ตั้งใจไว้
หมายเหตุ: คำนวณโดยใช้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหลังเกษียณเฉลี่ย 5% ต่อปีและปรับลดด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี
ตัวอย่างนี้เป็นเพียงเป้าหมายสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันช่วงวัยเกษียณอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าหากเรามีเป้าหมายอื่นๆ อีกล่ะ เช่น ท่องเที่ยว ต่างประเทศปีละ 1 ครั้ง หรืออยากเปิดร้านขายของเล็กๆ ที่ต้องใช้เงินทุน ด้วย แถมยังต้องมีเงินสำรองเผื่อการเจ็บป่วยหรือฉุกเฉินอีก ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องรีบตั้งเป้าหมายและเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ เพราะจะได้มีเวลา เก็บเงินนานๆ เพื่อจะสะสมความมั่งคั่งรองรับชีวิตวัยเกษียณของเราเอาไว้
ว่าในปัจจุบันเรามีเงินออมอยู่เท่าไหร่
เพียงพอหรือไม่ เช่น เงินฝาก
ธนาคาร เงินกองทุนประกันสังคม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินประกันชีวิต กองทุนรวม
LTF RMF และการลงทุนในหุ้น
โดยเปรียบเทียบเงินออมที่มีอยู่
และเงินที่ต้องใช้ในยามเกษียณ
หากเราพบว่าเงินที่เราออมไว้
ยังห่างจากเป้าหมาย
ที่ต้องการอยู่มาก ก็ต้องเร่ง
วางแผนเพื่อให้มีเงินออมมากขึ้น
เมื่อทราบแล้วว่ายังมีขาดเงินอีกเท่าไหร่ ก็ให้เรานำ
เป้าหมายนั้นมาวางแผนออมเงิน โดยเริ่มจาก
การทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างรัดกุมเพื่อให้เกิด
เงินออมในแต่ละเดือน ลงมือออมเงินอย่างต่อเนื่องและมีวินัย
เลือกช่องทางการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง
ที่ยอมรับได้ของตัวเอง ทั้งนี้ ควรมีการเขียนแผน
การออมการลงทุน และลงมือปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด
เพื่อตรวจสอบว่าเราสามารถทำตามแผนที่ วางไว้ได้หรือไม่
ต้องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย อย่างไรบ้าง ต้องบริหาร
เงินออมเงินลงทุน ให้ได้ผลตอบแทนอย่างไรบ้าง รวมทั้ง
พิจารณาว่าระดับการยอมรับความเสี่ยง ของเราเปลี่ยนไป
หรือไม่เพื่อประเมินและ ปรับเปลี่ยนแผนการออมให้เหมาะสม กับตัวเองมากยิ่งขึ้น
ทางเลือกการออม / ลงทุน | ถ้าออมได้เดือนละ 2,500 บาท อีก 30 ปีข้างหน้า จะกลายเป็นกี่บาท |
1 ฝากธนาคาร (ผลตอบแทน 1.82% ต่อปี) | 1,183,318 บาท |
2 ลงทุน (ผลตอบแทน 5.25% ต่อปี) | 2,080,886 บาท |
1 ลงทุน (ผลตอบแทน 10% ต่อปี) | 4,934,821 บาท |
ครั้งที่แล้ว เราพูดกันถึงเรื่อง การลงทุนแบบ 3 เด้ง คือ การลงทุนที่เมื่อเราลงทุนแล้ว เด้งแรกที่ได้รับ คือ
เรียนรู้การลงทุนเพื่อมีชีวิตที่ดี ได้ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุน ผ่านระบบ e-Learning ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สอดคล้องกั
ไม่ว่าจะเป็นคลิปเรื่องวางแผนการเงินการลงทุน บทสัมภาษณ์พิเศษจากเหล่ากูรูในแวดวงตลาดทุน
ในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 ตั้งแต่เวลา 17.30-19.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย
ลงทุนในหุ้นดีอย่างไรนะ? หลายคนคงเคยมีคำถามนี้ อยู่ในใจ เพราะที่ผู้ลงทุนหลายคนลังเลที่จะลงทุน
ติดต่อ SET Contact Center