
เป็นวิชาชีพที่ต้องก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกการเงินการลงทุนและเศรษฐกิจ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความกระตือรือร้น ชอบคิดวิเคราะห์ ชอบการคำนวณ ผลงานที่นักวิเคราะห์การลงทุนนำเสนอจะเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของประชาชน

การก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพนักวิเคราะห์การลงทุนไม่ใช่เรื่องยาก หากเราศึกษาข้อมูลและมีการเตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งคู่มือเล่มนี้ได้สรุปขั้นตอนสำหรับ
การก้าวสู่เส้นทางนักวิเคราะห์การลงทุน ดังต่อไปนี้

สำรวจตัวเองในด้านความรู้ ทักษะ อุปนิสัย ความชอบ ความถนัด เพื่อดูว่าการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนจะเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน อาทิเช่น วุฒิการศึกษา คุณสมบัติ รายได้ ความมั่นคง โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ฯลฯ
ผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ ควรศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวสอบ CISA ดังนี้
-
ศึกษาประกาศ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับใบอนุญาต ติดต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ฝ่ายกำกับและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์
โทร. 02-263-6257, e-mail: [email protected] -
ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรทดสอบ CISA ทั้งในเรื่องเนื้อหาที่จะออกสอบ จำนวนข้อสอบ เวลาที่สอบ เกณฑ์การผ่านการสอบ
และค่าธรรมเนียม เป็นต้น ติดต่อ ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI),
e-mail: [email protected] - เตรียมตัวสอบโดยการอ่านหนังสือสอบด้วยตนเอง ศึกษาหนังสือ หรือเอกสารประกอบการสอบที่เกี่ยวข้อง หรือสั่งซื้อหนังสือได้ที่ www.setfinmart.com ติดต่อ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) www.tsi-thailand.org
-
สมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมตัวสอบใบอนุญาต ติดต่อ สถาบันฝึกอบรมที่เปิดสอน เช่น
-
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทร. 02-224-9734, 02-226-4507-8, e-mail: [email protected], www.conc.tbs.tu.ac.th -
ศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ศ.น.ธ.) NIDA,
โทร. 02-727-3981, 02-377-1231, www.mba.nida.ac.th
-
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดสอบหลักสูตร CISA คือ
-
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ติดต่อ ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ, โทร. 02-009-9999,
e-mail: [email protected]
ผู้สอบผ่านแล้ว สามารถยื่นเอกสาร (ขอความเห็นชอบและพิจารณาคุณสมบัติ) ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- กรอกแบบคำขอที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
- ยื่นแบบคำขอ เอกสารประกอบ และชำระค่าธรรมเนียม 2,140 บาท (รวม VAT)
- สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณา (ภายใน 5 วันทำการ)
- สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลผ่านทาง website
ติดต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ โทร 02-695-9580, e-mail: [email protected]
สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาต สามารถประกอบวิชาชีพในตลาดทุนได้หลากหลายประเภทบริษัท อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย เป็นต้น
ใบอนุญาตนักวิเคราะห์การลงทุน มีอายุการให้ความเห็นชอบ 2 ปี นักวิเคราะห์การลงทุนต้องดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อต่ออายุใบอนุญาต
-
เข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม หรือศึกษาเพิ่มเติม (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เพื่อต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 2 ปี ดังนี้
-
การเข้ารับการอบรม 15 ชม. (โดยเนื้อหาต้องครอบคลุมตามแนวทางปฏิบัติของ สำนักงาน ก.ล.ต.)
- ความรู้ที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ชม.
-
เนื้อหาความรู้ด้านหลักทรัพย์ / ด้านอนุพันธ์ จำนวน 12 ชม.
(เฉพาะนักวิเคราะห์ด้านสัญญาฯ ต้องอบรมความรู้ด้านสัญญาฯ 6 ชม.)
- เป็นวิทยากร / อาจารย์บรรยายในเนื้อหาที่ครอบคลุมตามแนวทางปฏิบัติของ สำนักงาน ก.ล.ต. จำนวน 15 ชม.
- สอบผ่าน CISA หรือ CFA ที่ระดับสูงขึ้น
ติดต่อ- หลักสูตรภายในบริษัท (In-house Training)
- สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน โทร. 02-009-9292, saa-thai.org, www.iaa.or.th
-
สถาบันฝึกอบรม สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ATI) ศูนย์อบรม
โทร. 02-264-0909 ต่อ 301-304, e-mail: [email protected] -
สมาคมบริษทย์จัดการลงทุน (AIMC Knowledge)
โทร. 02-264-0900 ต่อ 1, e-mail: [email protected], [email protected]
-
-
ขั้นตอนการต่ออายุใบอนุญาต
- กรอกแบบคำขอต่ออายุฯ ที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
- พิมพ์แบบคำขอ และ ใบแจ้งค่าธรรมเนียม
- ชำระค่าธรรมเนียมคำขอต่ออายุ 1,070 บาท (รวม VAT) ทั้งนี้ ระบบการต่ออายุใบอนุญาต สำนักงาน ก.ล.ต. จะเปิดให้กรอกข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 15 ธ.ค. ของทุกปี
ในธุกิจการเงินการลงทุนเป็นธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ จึงต้องเป็นผู้ที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา ดังนั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้รู้ จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก

New Breed IC @ U-Net
เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ ผ่านรูปแบบการอบรมติวเข้มและการทดสอบหลักสูตรใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์และอนุพันธ์

New Breed Analysts @ U-Net
เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพ
นักวิเคราะห์การลงทุน ผ่านรูปแบบการอบรมติวเข้มและการทดสอบหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst Program (CISA)

Young Corporate Financial
Officer (YFO)
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพในบริษัทจดทะเบียน อาทิเช่น นักลงทุนสัมพันธ์และนักวิเคราะห์การเงิน เป็นต้น ผ่านรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ