
คือ ผู้ที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนสามารถวางแผนประกอบการให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนที่เฉพาะเจาะจง และเหมาะกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นักลงทุน
คุณสมบัติของ IP ประกอบด้วย
-
หลักสูตรใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์
(Securities Investment Consultant)
-
หลักสูตรใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives Investment Consultant)
ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน (Capital market Investment Consultant)
-
หลักสูตรนักวางแผนการเงิน (Certified Financial Planner: CFP) เฉพาะฉบับที่ 1 และ 2
- ฉบับที่ 1 : พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
- ฉบับที่ 2 : การวางแผนการลงทุน
ความรู้พื้นฐาน (Fundamental Knowledge Module) ประกอบไปด้วยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินและตลาดการเงิน ผลตอบแทนและความเสี่ยงการวิเคราะห์ข้อมูล และการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ (Portfolio Management)
ความรู้ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม (Common Rules and Regulations and Suitability Module) ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักเกณฑ์การกำกับดูแลและเสนอขายตราสารประเภทต่างๆ และการวางแผนการลงทุน
ความรู้เกี่ยวกับตราสารกฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับตราสาร
- ความรู้เกี่ยวกับตราสาร (Products Knowledge Module) ประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ (ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
- ความรู้ด้านกฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับตราสาร (Specific Rules and Regulations and Standard Practices Module) ประกอบไปด้วยกฎระเบียบ และแนวปฏิบัติในการทำธุรกรรมและปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์แต่ละประเภทและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
-
รายละเอียดการทดสอบหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน (IC)

ทั้งนี้ TSI ได้ออกแบบหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน ให้มีลักษณะเป็น Module-based เพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายและประเภทผู้แนะนำการลงทุน โดยกำหนดให้มีโครงสร้างที่เหมือนกันและสามารถเชื่อมต่อรองรับการขยายขอบเขตการให้คำแนะนำการลงทุนได้สะดวก ไม่ซ้ำซ้อน กล่าวคือ เปิดโอกาสให้ผู้สอบเลือกสอบได้ตามความจำเป็นและความต้องการในการใช้งาน เช่น
หากท่านใดมีหน้าที่ต้องให้คำแนะนำเฉพาะในส่วนของการลงทุนในกองทุน ก็สามารถสอบในส่วนความรู้ตราสารเฉพาะกองทุน ส่วนที่เป็นตราสารอื่นๆ เช่น ตราสารทุน และตราสารหนี้ก็จะไม่ถูกบังคับสอบโดยผู้ที่สอบผ่านการทดสอบจะได้หนังสือรับรองผลการทดสอบที่ออกโดยศูนย์ทดสอบของศูนย์ส่งเสริมฯ สำหรับนำไปใช้เป็นเอกสารหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียนหรือสมัครงานกับสถาบันการเงินต่างๆ
คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน

* AFPT™เป็นคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคมนักวางแผนการเงิน (TFPA)
** สำหรับ IP ต้องมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน (สอบผ่านการวัดความรู้ทั้งด้านหลักทรัพย์ และด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า) แต่คุณวุฒิวิชาชีพ ไม่บังคับต้องมีใบอนุญาตผู้แนะนำตลาดทุน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tfpa.or.th/2014

New Breed IC @ U-Net
เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ ผ่านรูปแบบการอบรมติวเข้มและการทดสอบหลักสูตรใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์และอนุพันธ์

New Breed Analysts @ U-Net
เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพ
นักวิเคราะห์การลงทุน ผ่านรูปแบบการอบรมติวเข้มและการทดสอบหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst Program (CISA)

Young Corporate Financial
Officer (YFO)
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพในบริษัทจดทะเบียน อาทิเช่น นักลงทุนสัมพันธ์และนักวิเคราะห์การเงิน เป็นต้น ผ่านรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ